วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2551

พิธีการลงเลขยันต์และเครื่องสังเวยบูชา

วิชาการในเรื่องเลขยันต์นี้ เป็นวิชาที่สำคัญมากแขนงหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นลัทธิของชาติใดที่นับถือความขลังของเวทมนต์คาถา ต่างก็บัญญัติขึ้นไว้ตามรูปแบบอักขระนิยมของชาตินั้น ภาษานั้น สำหรับยันต์ของชาติอื่นๆ เช่น ยันต์ของอาหรับ ซึ่งแพร่หลายเป็นอย่างมากในทวีปยุโรปนิยมบรรจุไว้ในยันต์ถือว่าเป็นเกณฑ์กำลังของดวงดาวต่างๆ


ส่วนยันต์ที่ใช้กันอยู่ในประเทศไทยของเรานั้น นิยมใช้ยันต์ที่ลงด้วยตัวอักษร และตัวอักษรที่จารึกในยันต์ใช้ลงอักษรขอมแทนอักษรไทย เพราะถือว่าเป็นหนังสือใช้ในเรื่องศาสนามาแต่เดิม นับถือว่าขลัง ศักดิ์สิทธิ์ดีถ้าลงด้วยหนังสือไทยนั้นท่านว่าไม่ค่อยจะขลัง ตามมติของโบราณาจารย์ถือกันว่าเส้นยันต์นั้นนั้นเปรียบเสมือนสายรกของพระพุทธเจ้า ยันต์ที่นิยมลงกันนั้นแบ่งออกเป็นลักษณะหลายชนิด คือ ยันต์กลม ยันต์เหลี่ยมยันต์ชนิดสามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยมเป็นต้น

ก่อนที่เราจะประกอบพิธีลงเลขยันต์นั้น จำเป็นต้องจัดหาเครื่องสักการะบูชาคุณพระรัตนตรัย เทพยาดาและครูบาอาจารย์ที่เราได้เล่าเรียนกับท่านมา ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อมก็ตาม เพื่อที่ท่านจะได้ประสิทธ์ประสาทความสำเร็จให้ การบูชาพระรัตนตรัยนั้นก็ควรที่จะใช้ดอกไม้ ธูป เทียน เป็นเครื่องบูชา สำหรับการบูชาครูนั้น นอกจากจะมีดอกไม้ ธูป และเทียนแล้ว จำเป็นต้องมีเครื่องบูชาอย่างอื่นเพิ่มขึ้นมาอืกด้วย อย่างน้อยก็ต้องมีขันครู ขันครูนั้นประกอบขึ้นด้วยขันล้างหน้า 1 ใบ เป็นขันอะลูมิเนียมหรือขันลงหินก็ได้ และต่อจากนั้นจัดทำกรวยขึ้นมา5กรวย กรวยนี้จะทำด้วยใบตองสดเย็บเป็นกรวยยอดแหลมภายในกรวยแต่ละกรวยจะบรรจุดอกบัว1ดอก ธูปหนึ่งดอก เทียนหนึ่งเล่ม หมาพลู1คำ และข้าวตอกบรรจุใส่ในกรวยทั้ง5 นั้นมีผ้าขาว ผ้าแดงอย่างละผืนขนาดเท่าผ้าเช็ดหน้าใส่รองในก้นขัน แล้วเอากรวยทั้ง5มาวางลงบนผ้าขาวและผ้าแดงในขันนั้นพร้อมทั้งเงินกำนัลครูจะเป็น12บาท 6 บาท หรือ6สลึงก็ตามเงินค่ากำนัลครูนี้ เมื่อได้จัดทำพิธีเสร็จแล้ว ก็จะนำเงินนั้นไปซื้อของทำบุญตักบาตรอุทิศส่วนผลบุญไปให้แก่ครูบาอาจารย์ จัดว่าเป็นธรรมพลีคู่กับอามิษพลีที่บูชาด้วยสิ่งของอย่างอื่น ขันครูนี้เป็นเครื่องบูชาชนิดย่อที่จัดทำขึ้นมาเป็นสังเขป เมื่อจะทำพิธีลงเลขยันต์ ถ้าหากจะจัดทำให้เต็มที่ นอกจากะมีขันครูแล้วก็ต้องจัดเครื่องสังเวยบูชา อันประกอบด้วย มัจฉามังสาหาร6ประการ และเครื่องกระยาบวด

มัจฉามังสาหาร6นั้นประกอบด้วย 1.หัวหมู 2.เป็ด 3.ไก่ 4.กุ้ง 5.ปูทะเล 6.ปลาช่อน และเครื่องกระยาบวดประกอบด้วย 1.บายศรีปากชาม 2.กล้วยนำไทหวีงามๆ1หวี 3.มะพร้าวอ่อน1ลูก 4.ขนมต้มขาว 5.ขนมต้มแดง 6.ขนมแกงบวช 7.ขนมหวานสด9อย่าง เช่นทองหยิบ ทองหยอด 8.ขนมหวานแห้ง9อย่าง เช่นขนมผิง ขนมสัมปะนี 9.ขนมเครื่องจันอับ 10.นม เนย 11.ถั่วคั่ว งาคั่ว 12.ถั่วดิบ งาดิบ 13.เผือกต้ม มันต้ม 14.ผลไม่9อย่างรวมกัน1พาน ส่วนมากใช้ผลไม่ที่มีรสหวาน 15.ข้าวตอก1พานระคนด้วยดอกไม้ 16.หมากพลู บุหรี่1พาน 17.ดอกไม้9สี1พาน 18.น้ำเย็น1แก้ว 19.โถแป้งหอมละลายน้ำหอม1โถ 20.เทียนเงินเทียนทอง1คู่ หนักเล่มละ4บาท ไส้เทียน16เส้นปิดทองคำเปลวและเงินเปลว นอกจากนั้นมีธูปหอมสำหรับจุดปักบนเครื่องสังเวยเหล่านี้

เมื่อจัดหาสิ่งของตามที่กล่าวไว้ข้างต้นครบถ้วนแล้วจึงให้วางลงที่ตรงหน้าพระบูชา หรือถ้าทำที่พระอุโบสถก็ให้วางไว้ที่ตรงหน้าพระประธาน ก่อนที่จะวางก็ให้ปูผ้าขาวรองก่อน อันดับแรกนั้นให้จุดธูปบูชาคุณพระรัตนตรัยก่อน สำรวมจิต ตั้งสมาธิให้มั่นแล้วนึกถึงคุณพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พรสังฆเจ้า ขออาราธนาคุณท่านมาเป็นที่พึ่ง

สำหรับพิธีการลงเลขยันต์ และเครื่องสังเวยบูชานั้นก็จะมีบทสวดคาถาอาคมเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยนะครับ ส่วนบทสดคาถาอาคมที่จะต้องสวดภาวนานั้นประกอบด้วย บทสวดคาถาสรรเสริญบูชาพระรัตนตรัย คาถาชุมนุมเทวดา คาถาถวายเครื่องสังเวย คาถาสำหรับนมัสการครูอาจารย์ บทสวดคาถาโองการเทพชุมนุมไหว้ครู เมื่อบริกรรมสวดคาถาที่ได้กล่าวมาจนหมดแล้วนั้นเราก็สามารถเริ่มปลุกเสกเลขยันต์ได้ตามใจปราถนา

เครื่องกระยาบวช

เครื่องสังเวย



ยันต์กลม


ยันต์เหลี่ยม

ไม่มีความคิดเห็น: